วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Ups


UPS คืออะไร ?
UPS เป็นคำย่อของ Uninterruptible Power Supply ถ้าแปลความหมายตรงตัว จะหมายถึง แหล่งจ่ายพลังงานต่อเนื่องนั่นเอง อาจกล่าวได้ว่า UPS ก็คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่องแม้ในเวลาที่ไฟดับหรือเกิดปัญหาทางไฟฟ้า โดยสามารถรับพลังงานไฟฟ้าได้ทุกสภาพ แล้วจ่ายพลังงานไฟฟ้าออกมาเป็นปกติ ส่วนประกอบสำคัญของ UPS มีดังนี้
ü แหล่งพลังงานไฟฟ้าสำรอง – แบตเตอรี่ เพื่อสำรองพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้กรณีเกิดไฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าตกชั่วขณะหนึ่ง โดย UPS จะสามารถจ่ายไฟฟ้าสำรองไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ
ü เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า AC เป็น DC (Rectifier) หรือ เครื่องประจุแบตเตอรี่ (Charger) จะทำการแปลงกระแสไฟฟ้า AC ที่รับจากระบบจ่ายไฟ เป็นกระแสไฟฟ้า DC และประจุไว้ในแบตเตอรี่
ü เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า DC เป็น AC (Inverter) จะแปลงกระแสไฟฟ้า DC ที่รับจากแบตเตอรี่ เป็นกระแสไฟฟ้า AC เพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์
· ก่อนอื่นเราต้องประเมินความสำคัญของอุปกรณ์ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์เสียก่อน หากพบว่า สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านพักอาศัยหรือสำนักงาน รวมถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลหรือโปรแกรมที่มีค่า ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องสำรองไฟฟ้า หรือ UPS ที่มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐาน เนื่องจากการใช้ไฟฟ้าโดยตรงที่จ่ายจากระบบของการไฟฟ้าฯ สามารถเกิดปัญหาขัดข้องขึ้นได้อย่างคาดไม่ถึง ซึ่งปัญหาที่เกิดจากระบบจ่ายไฟฟ้านี้ มีได้หลายสาเหตุ เช่น สภาพอากาศ, การอยู่ใกล้กับแหล่งอุตสาหกรรม รวมถึงการจ่ายไฟฟ้าออกมาด้วยแรงดันไฟฟ้าที่สูงหรือต่ำเกินไปและแรงดันไม่คงที่ สาเหตุเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดอันตรายและสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ หากคุณนำอุปกรณ์ดังกล่าวต่อเข้ากับ UPS แล้ว จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดย UPS จะช่วยปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า เช่น ไฟตก ไฟดับ ไฟกระชาก และไฟเกิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไฟฟ้าสำรองจ่ายให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้า เมื่อเกิดไฟดับหรือไฟตก รวมถึงยังป้องกันสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าที่อาจสร้างความเสียหายต่อข้อมูลและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อีกด้วย
· เนื่องจาก UPS มีแบตเตอรี่เป็นส่วนประกอบอยู่ภายใน และแบตเตอรี่นี้เองที่มีหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าสำรองไว้ใช้ในกรณีเกิดปัญหาทางไฟฟ้า (เช่น ไฟดับ, ไฟตก และไฟกระชาก เป็นต้น) ดังนั้น ในกรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ไม่สามารถรับกระแสไฟฟ้าจากระบบจ่ายไฟการไฟฟ้าฯ ได้ หรือได้รับกระแสไฟฟ้าที่มีความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้า แบตเตอรี่จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองที่เก็บไว้เพื่อให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและไม่เกิดการติดขัด โดยผู้ใช้จะสามารถทำงานต่อไปได้อีกระยะหนึ่งจนกระทั่งพลังงานจากแบตเตอรี่หมดใช้ไฟสำรองของ UPS ทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้าฯ ได้ช่วงเวลาหนึ่ง
· ช่วยให้สามารถบันทึกข้อมูล (Save) ของแฟ้มข้อมูลที่เปิดอยู่
· ไม่ทำให้ข้อมูลและการทำงานของโปรแกรมผิดพลาด
· สามารถ Shutdown ระบบคอมพิวเตอร์ได้ตามขั้นตอน
· ช่วยยืดอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ
· หากมีซอฟต์แวร์พิเศษสำหรับ UPS นั้น จะสามารถตรวจสอบสภาวะการทำงานทางไฟฟ้า, การทำงานของ UPS และควบคุมการทำงาน เช่น ตั้งเวลา Shutdown หรือ Restart คอมพิวเตอร์, ตั้งเวลาทดสอบ UPS, การบันทึกรายงานสถานการณ์ทางไฟฟ้าและตรวจสอบย้อนหลังได้ ฯลฯ
หน้าที่การทำงานของ Ups
1. สแตนบายด์ UPS ( Standby UPS ) หรือ ออฟ-ไลน์ UPS ( Off-Line UPS ) เป็นเครื่องสำรองไฟฟ้าที่นิยมใช้กันมากที่สุดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยมีสวิตช์ถ่ายโอนกำลังงาน ( Transfer Switch ) ซึ่งมักจะใช้ รีเลย์ ในการส่งผ่านกำลังงานจากแหล่งจ่ายกำลังงานหลักไปสู่โหลดในสภาวะปกติ และทำการประจุพลังงานเก็บไว้ในแบตเตอรี่ เมื่อเกิดมีความผิดพลาดที่แหล่งจ่ายกำลังงานหลัก สวิตช์จะทำการเชื่อมต่อตัวอินเวอร์เตอร์ และ แบตเตอรี่ เพื่อสร้างแหล่งกำลังงานไฟสลับเทียมสำรองให้แก่โหลด
ปล.ข้อมูลมาจาก http://iam.hunsa.com/ssicomputer/article/22867